top of page
  • ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

ปลาเข็มหม้อ

ปลาเข็ม (อังกฤษ: Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae)

มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์[1]

เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด[2]

พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา

 

เดลินิวส์ 17/12/2548

ปลาเข็ม” จัดเป็นปลาประเภทสวยงามอีกชนิดหนึ่งที่ออกลูกเป็นตัว ในธรรมชาติปลาเข็มจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ไหลแรง แม่น้ำ คลอง บ่อและทะเลสาบ เป็นปลาที่ชอบหากินบริเวณผิวน้ำ อาหารของปลาเข็ม ได้แก่ หนอนและพวกแมลงต่าง ๆ ปลาเข็มที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ปลาเข็มหม้อ ซึ่งมีลักษณะลำตัวเรียวยาวคล้ายเข็ม คอดหางแคบ ตำแหน่งของครีบหลังและครีบก้นจะค่อนไปทางหาง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีปากที่เป็นจะงอยแหลมยื่นยาวออกไปทางส่วนหน้าของส่วนหัวและมีปลายแหลม ที่น่ายินดีก็คือในขณะนี้กรมประมงเพาะพันธุ์ปลาเข็มได้แล้ว คุณวันเพ็ญ มีนกาญจน์ และคณะจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ได้อธิบายถึงวิธีการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ว่า หลังจากที่ได้ทำการแยกเพศปลาแล้วให้ทำการเลี้ยงแบบแยกเพศส่วนใหญ่จะคัดปลาที่มีอายุประมาณ 2 เดือนเพื่อนำมาขุน และทำการคัดเลือกปลาอีกครั้งเพื่อนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรจะมีอายุ 3-4 เดือน มีขนาดความยาวของลำตัว 2.5-3 นิ้ว นำพ่อ-แม่พันธุ์ปล่อยลงในบ่อเพาะพันธุ์ที่จะใช้เป็น ทั้งบ่ออนุบาลและบ่อเลี้ยงในคราวเดียวกันก็ได้ ปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ในอัตราส่วน 1:3 หรือ 1:6 พื้นที่บ่อขนาด 1 ตารางเมตร ปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ได้ 15-20 ตัว ในบ่อเพาะพันธุ์จะต้องวางใบตองสดเพื่อเป็นที่หลบซ่อนของลูกปลาที่จะเกิดมา ใบตองอาจจะใช้มากกว่า 1 ใบ ฉีกเป็นริ้วห่าง ๆ กัน เมื่อแม่ปลาได้รับการผสมหลังจากนั้นอีก 30-45 วันจึงจะให้ลูก ขั้นตอนสำคัญของการอนุบาลคือ ผู้เลี้ยงจะต้องคอยช้อนลูกปลาเข็มที่หลบอยู่ใต้ใบตองในตอนเช้าทุกวัน นำลูกปลาที่ได้ไปอนุบาลต่อในบ่อ อนุบาลโดยมีขนาดของบ่อเฉลี่ยพื้นที่ 1-5 ตารางเมตร ใช้อัตราความหนาแน่น 300-400 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร มีระดับน้ำลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ภายในบ่ออนุบาลจะใส่ผักบุ้งหรือสาหร่ายเพื่อใช้เป็นที่หลบภัย อนุบาลจนลูกปลามีอายุได้ เดือนครึ่ง-2 เดือน เริ่มคัดขนาดและจำหน่ายได้ สำหรับอาหารที่ให้ในช่วงอนุบาล ระยะแรกเกิดจนถึง 1 เดือน จะให้กินไรแดงวันละ 1-2 มื้อ เมื่อลูกปลามีอายุ 1 เดือน ไปแล้วให้กินลูกน้ำวันละมื้อจนจับจำหน่ายได้ แต่ถ้าจะขุนต่อเพื่อใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์จะให้กินลูกน้ำวันละมื้อ เมื่อนำปลาเข็มมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในตู้กระจกจะต้องเข้าใจนิสัยของปลาชนิดนี้ว่าไม่ชอบแสงสว่างมากเกินไป ควรจัดตู้ปลาให้มีแสงเล็ดลอดเพียงเล็กน้อยผ่านพืชน้ำ ปลาเข็มชอบสภาพน้ำที่มีความกระด้างปานกลางและมีค่า pH เป็นกรดเล็กน้อย ถ้าจะให้ปลาเข็มมีสุขภาพที่ดีควรจะเติมเกลือแกง 4 ช้อนชาต่อน้ำ 5 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้มีผู้เพาะเลี้ยงนำปลาเข็มมาเพาะเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์ บางคนเลี้ยงปลาเข็มเป็นปลาสวยงามและมีอีกหลายคนที่เพาะเลี้ยงเพื่อใช้ในเกมกีฬา เนื่องจากปลาเข็มเพศผู้มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย จึงมีผู้นิยมนำปลาชนิดนี้มาใช้กัดเป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมไม่แพ้ปลากัด.

โรค ของปลาเข็ม

หนองในปลายปาก เหมือนกับเป็นเชื้อรา สีขาว ปุยๆ บริเวณปลายปากบน หรือ ปลายปากล่าง ลองใช้เกลือแกง หยิบมือ ใส่ในอ่างเลี้ยง น้ำประมาณ 10 ลิตร น่าจะช่วยได้ (เพิ่งลอง)

 

ปลาเข็มตัวเมีย

 

ปลาเข็มตัวผู้(ตัวเล็ก) ตัวเมีย(ใหญ่ ขวามือ)

 

ตัวนี้ กำลังท้อง และออกลูกในวันรุ่งขึ้น

 

ลูกปลาเข็มหม้อ อายุ 2 ชั่วโมง

 
RECENT POSTS:
SEARCH BY TAGS:
bottom of page