ประวัติน้ำตกอ่างเบง จากคำเล่าขาน ว่ากันว่าเมื่อประมาณร้อยปีก่อน มีชาวเขมร อพยพหนีโรคฝีดาษ ที่ระบาดในพระตะบอง เข้ามาทำมาหากินอยู่ที่บ้านแหลม และต่อมาได้ย้ายที่ทำกินและมาตั้งรกรากที่ บ้านแพรกโอน (ปัจจุบันคือบ้านช่องแคบ หมู่ 8 ตำบลฉมัน) โดยอพยพมาครั้งแรกมีด้วยกันประมาณ 50 คน หนึ่งในนั้นเป็นผู้อาวุโสที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวเขมร ชื่อว่า "ปู่สุก" เป็นผู้นำให้ชาวเขมรอพยพ ได้ประกอบอาชีพทำไร่ ปลูกข้าว และล่าสัตว์ และต่อมาเมื่อมีจำนวนประชากรมากขึ้น ชาวเขมรส่วนหนึ่งจึงย้ายถิ่นฐานไปหากินในแหล่งทำกินใหม่ โดยพากันมาอยู่ในบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำ ที่สามารถทำการเกษตรได้ บ้างก็ทำไร่กระวาน หาไม้หอม แหล่งที่ทำกินใหม่ที่ชาวเขมรได้อพยพมานั้น เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีต้นมะค่าอยู่เป็นจำนวนมาก สันนิษฐานได้ว่า น้ำตกอ่างเบง มีคำว่า "เบง" ซึ่งในภาษาเขมรหมายถึง "ต้นมะค่า" อ่างเบงในภาษาเขมรจึงแปลว่า แหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยต้มไม้มะค่า นอกจากนี้ บางคนยังกล่าวว่า คำว่าอ่างเบง เป็นภาษาชอง ของคนพื้นเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งในที่นี้ คำว่า “เบง” หมายถึง ขนาดใหญ่ น้ำตกอ่างเบง จึงแปลได้ว่า แอ่งน้ำขนาดใหญ่
น้ำตกอ่างเบง ชั้นที่หนึ่ง
ลานจอดรถ
ทางเดินเข้า ประมาณ 50 เมตร
น้ำตกชั้นที่หนึ่ง