top of page
  • ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

แม่แจ่ม ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง เชียงใหม่

แม่แจ่ม (คำเมือง: ) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอแม่แจ่มตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกัลยาณิวัฒนา

  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสะเมิง อำเภอแม่วาง และอำเภอจอมทอง

  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่สะเรียง (จังหวัดแม่ฮ่องสอน)

  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอขุนยวม และอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน (จังหวัดแม่ฮ่องสอน)

ที่มาของชื่ออำเภอ

อำเภอแม่แจ่มหรือ "เมืองแจ๋ม" นั้นแต่เดิมเรียกกันว่า "เมืองแจม" มีเรื่องเล่าครั้งโบราณกาลว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหากัจจายนะได้จาริกผ่านมาทางยอดดอยอ่างกา (ดอยอินทนนท์) เช้าวันหนึ่งเมื่อพระองค์เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ มีย่าลัวะเฒ่า (หญิงชราชาวลัวะ) คนหนึ่งนำปลาปิ้งเพียงครึ่งตัวมาใส่บาตรถวาย พระบรมศาสดาทอดพระเนตรด้วยความเมตตาและความสงสัย จึงตรัสถามย่าลัวะว่า "แล้วปลาอีกครึ่งตัวล่ะอยู่ไหน" ย่าลัวะทูลตอบว่า "เก็บไว้ให้หลาน" พระองค์จึงทรงรำพึงว่า "บ้านนี้เมืองนี้มันแจมแต๊นอ" (= เมืองนี้ช่างอดอยากจริงหนอ) ซึ่งต่อมาดินแดนนี้จึงได้ชื่อว่า "เมืองแจม" คำว่า "แจม" เป็นภาษาลัวะแปลว่า มีน้อย ไม่พอเพียง หรือขาดแคลน ต่อมาเมื่อกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) มาอยู่ จึงเรียกชื่อตามสำเนียงไท-ยวนว่า "เมืองแจ๋ม" และเพี้ยนเป็นเมืองแจ่มหรือ "แม่แจ่ม" อันเป็นนามมงคล หมายถึงให้เมืองนี้เป็นเมืองแห่งความแจ่มใส ลบความหมายของคำว่า "แจม"

ตำนานเมืองที่เกี่ยวข้องกับสิงห์

มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า มีสิงห์สองตัวเป็นพี่น้องกันหากินอยู่ในป่าใหญ่ เกิดแย่งชิงอำนาจการปกครองและพื้นที่ทำกินกันเองจนเกิดข้อพิพาทกันอยู่เนือง ๆ จนพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ได้พบเห็น จึงได้กำหนดแบ่งเขตหากินโดยใช้ลำห้วยแห่งหนึ่งเป็นเขตแสดง ลำห้วยนั้นชื่อ "ห้วยช่างเคิ่ง" (ชึ่งหมายถึงแบ่งครึ่งกัน) ครั้นพระปัจเจกเจ้าเสด็จไปที่ดอยสะกาน (ตั้งอยู่ตรงข้ามบ้านกองกานกับบ้านต่อเรือ) มีราษฎรนำอาหารไปถวาย แต่เนื่องจากว่าราษฎรเหล่านั้นยากจน ข้าวปลาที่นำมาถวายมีน้อยขาดแคลน จึงได้ขนานเมืองนี้ว่า "เมืองแจม" ซึ่งแปลว่าเมืองที่มีความอดอยากขาดแคลน และเรียกลำน้ำใหญ่ว่า "น้ำแม่แจม" ต่อมาชาวบ้านขานชื่อเมืองนี้เพี้ยนไปเป็น "เมืองแจ่ม" จนกระทั่งทุกวันนี้

ประวัติ

อำเภอแม่แจ่มเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้านอยู่ตามที่ราบและกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาใหญ่น้อยที่ล้อมรอบเรียงรายอยู่ มองจากที่สูงลงมาจะเหมือนแอ่งกระทะ มีลำน้ำไหลผ่าน ท่ามกลางมวลพฤกษชาตินานาพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งนี้เดิมเป็นที่อาศัยของชนชาติลัวะ (ละว้า) ซึ่งครอบครองดินแดนแถบนี้ตลอดจนถึงบางส่วนของอาณาจักรล้านนาในอดีต ชนเผ่าลัวะมีความเจริญไม่แพ้พวกขอม-มอญ ซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนแห่งนี้ร่วมกัน เพียงแต่แยกการปกครองออกเป็นหมู่เหล่า เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อพวกใด ชนใดมีความเข้มแข็งก็ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองขึ้นปกครองกันเอง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และได้สร้างวัฒนธรรมของตนจนรุ่งเรือง ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องปั้นดินเผา อาจจะเป็นเพราะในอดีตเมืองแจ๋มเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่าง พม่า ไทย จีน และอินเดียก็เป็นได้ เพราะสินค้าของทุกประเทศตกทอดมาสู่รุ่นลูกหลานซึ่งได้รับจากบรรพบุรุษที่อยู่ในสมัยนั้นด้วย ต่อมาเมื่อมีกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) เข้ามามากเข้า อำนาจของลัวะจึงหมดไป แต่ลัวะเริ่มเรืองอำนาจขึ้นมาใหม่อีกครั้งในยุคสมัยของพญามังรายซึ่งถือว่าเป็นเชื้อสายลัวะเหมือนกัน

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น คิชฌกูฏ ในวิหารของวัดยางหลวง พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน พระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะตระกูลช่างเชียงแสนและตระกูลช่างสุโขทัยซึ่งมีอายุเกิน 500 ปีขึ้นไป ดังนั้น เมืองแจ๋มก็น่าจะตั้งมาไม่ต่ำว่า 500 ปี ราว ๆ ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1800) สิงหนวัติกุมารได้พากลุ่มคนไท-ยวนอพยพมาจากยูนนานทางตอนใต้ของจีน ยึดอำนาจจากลัวะในสมัยปู่จ้าวลาวจก (ลวจักราช) บรรพบุรุษของพญามังราย แล้วสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่มีชนพื้นเมืองลัวะอาศัยอยู่ก่อน แต่อาศัยการวางตนเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมสูงกว่าลัวะ ต่อมาเมื่อกลุ่มคนไทเสื่อมอำนาจลง ปู่จ้าวลาวจกจึงสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์ กลุ่มคนไทจึงกระจัดกระจายกันไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งตามประวัติของเมืองแจ๋มที่กล่าวไว้ว่าเริ่มมีคนไทเข้ามา ก็คงจะในสมัยของสิงหนวัติกุมารนั่นเอง เพราะประวัติของเมืองแจ๋มก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิงห์อยู่เหมือนกัน แล้วถ้าเราลองมานับปีกันแล้ว ปีนี้ พ.ศ. 2545-1800 จะได้ประมาณ 745 ปี ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอายุของหลักฐานที่อยู่ตามวัดต่าง ๆ เช่น คิชฌกูฏ

ต่อมามีคนไทยพื้นที่ราบทั้งจากอำเภอจอมทองและอำเภอสันป่าตองเข้ามาหากินและตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำแม่แจ่ม และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2451 ตั้งชื่อว่า อำเภอเมืองแจ่ม[1] และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอช่างเคิ่ง ในปี พ.ศ. 2460[2](ปัจจุบันช่างเคิ่งเป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอแม่แจ่ม) ตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลท่าผา มีนายชื่นดำรงตำแหน่งนายอำเภอ แต่ขณะนั้นราษฎรอดอยากขาดแคลนและไม่นิยมการปกครองที่มีการเก็บภาษีอากร ในที่สุดจึงมีราษฎรกลุ่มหนึ่งเข้าปล้นที่ว่าการอำเภอและทำร้ายนายอำเภอจนเสียชีวิต ทางราชการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอาศัยที่วัดช่างเคิ่งเพื่อความปลอดภัย มีนายสนิทเป็นนายอำเภอจนกระทั่งปี พ.ศ. 2481 ทางราชการได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอ และตั้งชื่อว่า กิ่งอำเภอแม่แจ่ม ขึ้นกับอำเภอจอมทอง[3] และเมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอแม่แจ่ม[4] และ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2552 ได้มีการแบ่งพื้นที่ของตำบลแจ่มหลวง ตำบลบ้านจันทร์ และ ตำบลแม่แดด ออกไปจัดตั้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จึงทำให้อำเภอแม่แจ่ม มี 7 ตำบล จนถึงปัจจุบัน

Location and territory Mae Chaem district is located in the west of the province. The territory is adjacent to the district and neighboring provinces as follows: North with Kanlayanattana District. The east is connected to Samoeng, Mae Wang and Chom Thong. South of Chom Thong, Amphoe Hod and Mae Sariang. (Mae Hong Son Province) West is connected with Mae Lam District, Khun Yuam District and Mae Hong Son District. (Mae Hong Son Province) The origin of the district name Amphoe Mae Chaem or "Muang Jam" was originally called "Muang Jam". HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn and Buddhist pilgrimage to the top of the mountain. (Doi Inthanon) One morning, when he went out to eat alms. There is Lua Lua (Lua old lady), one half of the fish is put in a bowl of offerings. The Prophet saw with kindness and suspicion. Then asked Lua that. "Then the other half fish where?" "Keep it for your grandchildren," he mused. "This house is a jungle town" (= this city is really hungry), then the land is called "city Jam". The word "Jam" is Lua means less. Sufficient or shortage later, when the Tai-Yuan (kidney) group came to be named after the Tai-Yuan accent, "city" and the distant town or "Mae Chaem" as a sacred name. It means that this city is a city of refreshing. Remove the meaning of the word "Jam". The city legend associated with Leo. Legend has it that. There are two siblings in the wild. Takes control of the government and the area to eat each other until the dispute is repeated so that individual Buddhists come to see the animals. It is determined to use the district as a tributary. The creek is named. "Huai Cham Kung" (which means to split half), when the individual went to Doi Sakcan. (Located opposite Ban Kork and boat house). But because the people are poor. The fish offered are scarce. It is parallel to this city that "city Jam", which means that the city is starving shortage. Then called the river "water mother Jam". Later, the villagers called this city distorted to a "city" until today. history Mae Chaem district is a land located in the southwest of Chiang Mai. There are villages along the plains and scattered in the surrounding large and small valleys. Looking up from the high to the pan. The river flows through. Among the numerous botanical species appearing in the Suvarnabhumi area. This land was originally inhabited by Luau (Lawa) people, who occupied this land and parts of the Lanna Kingdom in the past. The Lua tribe is not overthrown Khmer - Mon Which owns this land together. Just split the rule into those. Is not independent of any of them. Whosoever is strong, he is ruler over himself. There is a simple way of life. And have built up their own culture. According to historical evidence Whether it is a temple. Murals earthenware It may be because in the past, Jamming was a trading route between Myanmar, Thailand, China and India. Because the products of every country belonged to the descendants of the ancestors of those days. Later, when the Tai-Yuan (kidney) came in. Lua's power is gone. But Lua began to regain power in the era of the Phra Mangayan, which is the same Lua. According to historical evidence, such as Kitchakut in the temple of the royal temple. God himself, Temple of the Cankan Buddha with bronze casting. The art of Chiang Saen and the Sukhothai family, over 500 years old, so the city should be set up not less than 500 years around the end of the 18th century (1800). Tai-Yuan immigrants from Yunnan in southern China Takes power from Lua during the reign of Lao Khok (Luangkrachan), the ancestors of Phaya Mangrai. Then create a new town in an area where the Lua people live first. But it is based on a higher culture than Lua. Later, when the Tai people power down. Lao grandpa Lao, so he established himself as the first king. Tai people are scattered in different directions. Which, according to the history of the city of Jam said that began to come in. It would be in the days of the Singha Singh. Because of the history of the city, there are also related to Leo. Then, if we try to count each year from 2002 to 1800, it will be about 745 years, which is close to the age of the evidence located in various temples, such as Kitcham. Later, Thai people from both Chom Thong and Sanpatong districts settled in Mae Chaem Basin. And was raised as a district in 1908. Named Muang District [1] and renamed. [2] (Currently, Changkhan is a district in Mae Chaem District). The district office is located at Moo 4, Tambon Tha Pha. But at that time, the population starved and lacked popular taxation. Finally, a group of people robbed the district office and beat the sheriff until he died. The government has moved to the district to live in the temple of a technician. There was a sheriff as a sheriff until the year 2481 the official has reduced to a district. And name it Mae Chaem district. Up to the Chom Thong district [3] and in 1956 was raised to become. [4] and on December 26, 2009, the area of ​​Cham King Banchan Subdistrict and Mae Ta District go out to form Kalaya Nakathana District. So, Mae Chaem district has 7 districts to date.

RECENT POSTS:
SEARCH BY TAGS:
bottom of page