top of page
Admin กางเต๊นท์คลับ

อุโมงค์ขุนตาน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

อุโมงค์ขุนตาน เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย จากจำนวนทั้งสิ้น 7 อุโมงค์ มีความยาวถึง 1,352.15 เมตร ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ระหว่างอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2461 โดยการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม ที่มีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยาการ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมันชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด ใช้เวลาสร้างทั้งหมด 11 ปี ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,362,050 บาท

อุโมงค์ขุนตาน มีขนาดกว้าง 5.20 เมตร สูง 5.50 เมตร และยาว 1,352.15 เมตร เป็นอุโมงค์ชนิดคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนว อุโมงค์ด้านเหนือสูงกว่าด้านใต้ประมาณ 14 เมตร

ด้านหนึ่งของอุโมงค์ขุนตาน คือ สถานีรถไฟขุนตาน บังกะโลรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย และอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

การก่อสร้างอุโมงค์ในอดีต

ในอดีตบริเวณบ้านขุนตานยังเป็นถิ่นทุรกันดาร เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ และโขดเขาสูง การก่อสร้างจึงต้องใช้ความอุตสาหะพากเพียรอย่างยิ่ง เครื่องมือและสัมภาระต่าง ๆ ที่ใช้ก่อสร้างต้องใช้ช้างและเกวียนบรรทุกไป พอถึงบริเวณที่ที่เป็นภูเขาต้องใช้วิธีชักรอกขึ้นเขาลงเขาอย่างทุลักทุเล

กรรมวิธีในการขุดเจาะอุโมงค์ เริ่มด้วยการเจาะรูเล็ก ๆ โดยใช้สว่าน หรือใช้แรงคนตอกสกัด เมื่อมีรูลึกเข้าไปจึงเอาดินระเบิดไดนาไมต์ฝังเข้าไปในรูนั้นเพื่อระเบิดให้เป็นอุโมงค์ใหญ่ ถ้าหินก้อนใหญ่มากไม่สะดวกในการระเบิดให้แตกเป็นก้อนเล็ก ๆ ก็ใช้วิธีสุมไฟให้ก้อนหินร้อนจัดแล้วราดน้ำลงไป หินนั้นก็จะแตกเป็นเสี่ยง ๆ การขนดิน และหินออกจากอุโมงค์ก็ใช้คนงานขนออกมาการขุดเจาะเริ่มจากปลายอุโมงค์ทั้ง 2 ข้าง เข้ามาบรรจบกันตรงกลาง ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี อุโมงค์จึงทะลุถึงกันได้ และใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อผูกเหล็ก เทคอนกรีต ทำผนัง และหลังคาเพื่อความแข็งแรง และป้องกันน้ำรั่วซึมเมื่ออุโมงค์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังวางรางรถไฟจากลำปางไปยังปากอุโมงค์ไม่ได้เพราะระหว่างทางต้องผ่านเหวลึกถึงสามแห่งไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้จึงต้องใช้วิธีทำสะพานทอดข้ามระยะทาง 8 กิโลเมตร

Cr.ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

Khun Tan Tunnel is the longest railway tunnel passing through Thailand from a total of 7 tunnels up to 1,352.15 meters long, located adjacent to the Doi Khun Tan National Park between Hang Chat District, Lampang Province and Mae Tha District, Lamphun Province. .Prof. 2450 completed BE 1961 by the Royal Railway of Siam. With the generals her goddess. HRH Princess Chachoja King Kamphaengphet Akkarothin is the commander. And a German engineer, Emil Eisenhofer, is in charge of all construction. Takes a total of 11 years, the total cost of 1,362,050 Baht Khun Tan Tunnel is 5.20 meters wide, 5.50 meters high and 1,352.15 meters long, is a reinforced concrete tunnel along the line. The northern tunnel is about 14 meters above the south. One side of the Khuntan Tunnel Khun Tan Railway Station, Railway Train Station of Thailand Railway Station and Doi Khun Tan National Park.

Construction of the tunnel in the past

In the past, Khun Tan is still a wilderness. Filled with ailments The terrain is dense forest and high rises, so the construction requires a lot of hard work. The tools and luggage used to construct the elephant and cart to carry. When it comes to mountainous areas, you have to follow the path to climb him down the hill. The process of tunnel excavation. Start by drilling small holes using a drill or using a hammer. When the hole is deep, the dynamite cordite is buried in the hole to explode into a large tunnel. If the stone is very inconvenient to explode into small cubes, then use the fire to heat the rock and pour it down. The rock is broken down, and the soil and rock are removed from the tunnel by the workers. The drilling begins at the end of the tunnel and converges in the middle. It takes 8 years to reach the tunnel. And take another 3 years to tie steel, put concrete, walls and roofs for strength. And prevent water leakage when the tunnel is completed. The railway from Lampang to the mouth of the tunnel can not be located because the road has to pass through the depths of three to no way to avoid the need to make a bridge over the distance of 8 kilometers.

อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ก็คือ “อุโมงค์ขุนตาล” อยู่ระหว่างจังหวัดลำปางกับลำพูน เจาะลอดใต้ดอยงาช้างของเทือกเขาขุนตาลเข้าไป ยาวถึง ๑,๓๖๒.๐๕ เมตรกว่าจะทะลุอีกด้าน นับเป็นความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างความตื่นเต้นให้คนทั้งประเทศ ซึ่งต้องใช้วิทยาการและความอุสาหะอย่างมาก เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ก็ไม่มีเหมือนในยุคนี้ ต้องใช้แรงคนตอกหินทีละก้อน ทั้งการเดินทางเข้าไปทำงานก็ยากลำบาก ต้องบุกป่าฝ่าดงแบกอุปกรณ์เข้าไป ซ้ำวิศวกรชาวเยอรมันที่ควบคุมงานทั้งหมดยังถูกจับในฐานะเป็น “ชนชาติสัตรู” ต้องใช้เวลาถึง ๓ รัชกาลจึงเปิดเดินรถได้ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงทำพิธีเริ่มสร้างทางรถไฟในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๔๓๔ จนปลายปี ๒๔๔๘ รถไฟสายเหนือก็เพิ่งเดินรถไปได้แค่สถานีนครสวรรค์ และการสำรวจเส้นทางที่จะไปถึงเชียงใหม่มีอุปสรรคใหญ่ คือเทือกเขาขุนตาลที่ขวางกั้นจนยากที่หลบเลี่ยงได้ หลังจากสำรวจอยู่ ๒ ปี ในที่สุดก็ตัดสินใจที่จะขุดอุโมงค์ลอดไปอย่างที่ในยุโรปทำกันมาแล้ว แต่การขุดอุโมงค์ลอดใต้ภูเขายาวเป็นกิโลเมตรเช่นนี้ ทั้งยังอยู่ในดินแดนทุรกันดารที่ต้องปีนป่ายภูเขาเข้าไป นับเป็นเรื่องที่คนไทยทั่วไปมองไม่เห็นทางที่จะเป็นไปได้ แต่ก็มีความศรัทธาเชื่อถือในวิศวกรเยอรมัน ซึ่งตอนนั้นคนไทยนิยมเยอรมันมาก ถือกันว่าสินค้าเยอรมันมีคุณภาพดีกว่าทุกชาติในโลก ทั้งยังคบหากันได้อย่างสบายใจ เพราะเยอรมันไม่มีนโยบายแสวงหาอาณานิคมในย่านนี้ ผิดกับอังกฤษและฝรั่งเศสที่ไว้ใจไม่ได้ ยอกย้อนซ่อนแผนที่จะยึดครองประเทศไทยให้ได้ การเจาะอุโมงค์ขุนตาลเริ่มต้นในปี ๒๔๕๐ ซึ่งยังอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีวิศวกรเยอรมันชื่อ อีมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมคนแรก และขุดทั้ง ๒ ด้านให้มาบรรจบกันพอดี ซึ่งต้องใช้การคำนวณที่แม่นยำมาก จุดเริ่มต้นขุดอุโมงค์ทั้ง ๒ ด้าน อยู่ในบริเวณทุรกันดารที่การเดินทางต้องใช้เดินเท้าหรือขี่ม้าเข้าไป ส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ในการก่อสร้างและสัมภาระทั้งหลาย ต้องใช้ช้างและเกวียนบรรทุก บางตอนที่เป็นภูเขาชันก็ต้องใช้รอกกว้านขึ้นไป โดยฐานหัวงานอยู่ที่ลำปาง วิธีขุด เริ่มด้วยการเจาะเป็นรูเล็กๆเข้าไปโดยใช้แรงงานคนตอกหรือใช้สว่าน จากนั้นจึงเอาดินระเบิดไดนาไมต์ฝัง สอดใส่แก๊ปหรือเชื้อประทุ แล้วต่อสายชนวนยาวเพื่อความปลอดภัยของคนจุดชนวนระเบิด บางจุดก็ใช้วิธีสุมไฟให้หินร้อนจัด ซึ่งจะทำให้สกัดออกได้โดยง่าย หรือบางก้อนราดน้ำลงไปหินร้อนก็จะแตกเองเป็นเสี่ยงๆ ยิ่งขุดลึกเข้าไปงานก็ยิ่งยากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะต้องขนเศษหินออกมาทิ้งนอกอุโมงค์ ซึ่งหินที่เจาะออกมาจากอุโมงค์ขุนตาลมีปริมาณถึง ๖๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร การใช้แรงงานคนขนออกจากถ้ำ จึงเป็นงานที่หนักหนาสาหัสยิ่ง คนงานที่สมัครมารับภาระในการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลนี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกที่หาทางไปทำงานอย่างอื่นได้ยาก ได้แก่พวกนักร่อนเร่เผชิญโชค พวกขี้เหล้าและขี้ยา ซึ่งขี้ยาในยุคนั้นก็คือพวกสูบฝิ่นที่ยังไม่มีกฎหมายห้าม ปรากฏว่าพวกที่ทำงานได้ดีที่สุดก็คือพวกขี้ยา ซึ่งมีความขยันมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ทั้งๆที่ทุกคนต่างมีร่างกายผอมแห้ง ที่ขยันทำงานก็หวังจะได้เงินมาสูบฝิ่น ทั้งยังไม่มีความกลัวควันพิษต่างๆในอุโมงค์ที่เกิดจากฝุ่นหิน เพราะเชื่อในอิทธิฤทธิ์ของฝิ่นว่าจะกำจัดได้หมด เมื่อขุดเข้าไปลึกๆอากาศหายใจก็น้อยลงทุกที ต้องปั๊มอากาศเข้าไปช่วย แต่พวกสูบฝิ่นที่ผอมแห้งก็ใช้อากาศหายใจน้อยกว่าพวกอื่น เนื่องจากอุโมงค์ขุนตาลอยู่ในแดนทุรกันดารที่ชุกชุมด้วยไข้ป่า กรรมกรเหล่านี้นอกจากจะเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังมีไม่น้อยที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเพราะความประมาท อย่างเช่นการต่อสายชนวนเข้ากับแก๊ปเชื้อประทุ แทนที่จะใช้คีบบีบ กรรมกรหลายคนมักง่ายใช้ฟันกัดแทนคีม ถ้าเกิดพลาดไม่ถึงตายก็ฟันร่วงหมดปาก หลังจากขุดอุโมงค์ขุนตาลมาได้ ๕ ปีก็มีเรื่องเศร้าสลดเกิดขึ้นแก่พสกนิกรชาวไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดรถไฟไทย ได้เสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ แต่การขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลก็ยังดำเนินต่อไป หลังจากใช้เวลาเจาะอยู่ถึง ๘ ปี อุโมงค์ทั้ง ๒ ด้านก็ทะลุถึงกันตรงตามที่คำนวณไว้ จากนั้นยังต้องใช้เวลาทำผนังและเพดานคอนกรีตตลอดอุโมงค์อีกถึง ๓ ปี เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำจากภูเขา ระหว่างที่การขุดอุโมงค์ขุนตาลยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ไทยก็เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ในการตัดสินพระทัยเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงการเจาะอุโมงค์ขุนตาลและการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิศวกรเยอรมันทั้งสิ้น และต่างก็มีความดีความชอบได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดย มิสเตอร์ เอฟ ชะแนร์ ได้เป็น พระอำนวยรถกิจ มิสเตอร์ แอร์วิล มูลเลอร์ ได้เป็น พระปฏิบัติราชประสงค์ มิสเตอร์ ยี เอฟ เวเลอร์ ได้รับพระราชทานนามสกุล “เวลานนท์” เมื่อประกาศสงครามกับเยอรมันแล้ว คนเหล่านี้ต้องถูกจับเป็นเชลยทันทีเพราะเป็นชาติคู่สงคราม แม้จะเป็นมิตรที่ดีของคนไทยมาตลอดก็ตาม และเมื่อเห็นว่าไทยไปเข้าข้างสัตรู ก็อาจขุ่นเคืองหาทางแก้แค้นได้ จนมีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับอุโมงค์ขุนตาลได้ ดังนั้นในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๖๐ ก่อนจะประกาศสงครามเพียง ๒๕ วัน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมและทหารช่างจากอังกฤษ กำลังดำรงตำแหน่งจเรทหารบก เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟทั้งหมด นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชหัตถเลขาถึง พระยาสฤษดิ์การบรรจง (สมาน ปันยารชุน) นายช่างแขวงบำรุงทางรถไฟจังหวัดนครราชสีมา กำหนดให้เปิดซองอ่านในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่ทรงกำหนดไว้อย่างเงียบๆว่าจะเป็นวันประกาศสงคราม พระยาสฤษดิ์การบรรจงได้รับลายพระหัตถ์แล้วก็มิได้เฉลียวใจ เผอิญถึงกำหนดลาพักผ่อนไว้ จึงขึ้นไปเยี่ยมเยียนพระราชดรุณรักษ์ ซึ่งเป็นญาติ ซึ่งไปรับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่จังหวัดเชียงใหม่ พอวันที่ ๒๒ กรกฎาคมจึงไปเปิดซองพระราชหัตถเลขาออกอ่านที่นั่น พอทราบเรื่องก็ตกใจ รีบเดินทางไปที่อุโมงค์ขุนตาลทันที และได้พบกับกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงไปบัญชาการอยู่ที่นั่นแล้ว นอกจากจะมีชาวเยอรมันที่ควบคุมการขุดอุโมงค์ขุนตาลถูกจับ ถูกถอดบรรดาศักดิ์ และถูกคุมตัวส่งลงมากรุงเทพฯ ตามกติกาของสงครามแล้ว ยังมีชาวเยอรมันที่อยู่ในกรมรถไฟและกรมไปรษณีย์รวมกันถึง ๑๗๘ คนถูกจับทั้งหมด แต่ก็เป็นการทำตามกติกาสงครามเท่านั้น คนเยอรมันยังได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ใช้โรงพยาบาลทหารบกที่ถนนอุณากรรณ ซึ่งทันสมัยเหมือนโรงแรมชั้น ๑ เป็นที่ควบคุม และยังมีหมอและพยาบาลดูแลสุขภาพด้วย ส่วนครอบครัวที่มีเด็กก็ใช้สโมสรของชาวเยอรมันเองที่ถนนสุรวงศ์เป็นที่กักกัน เมื่ออุโมงค์ขุนตาลเสร็จเรียบร้อยในปี ๒๔๖๑ จากนั้นก็ถึงขั้นวางราง แต่รางรถไฟสายเหนือจากจังหวัดลำปางก็ยังมาไม่ถึงอุโมงค์ขุนตาล เนื่องจากภูมิประเทศเต็มไปด้วยหุบเหวและป่าทึบ ยากแก่การวางราง โดยเฉพาะในช่วง ๘ กิโลเมตรก่อนถึงขุนตาล มีเหวลึกถึง ๓ แห่งที่ไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ ต้องสร้างสะพานข้ามไปเท่านั้น คือหุบเหวที่ ปางยางเหนือ ปางยางใต้ และปางหละ ซึ่งเหวที่ปางหละเป็นเหวที่กว้างและลึกที่สุด ต้องใช้ซุงหลายสิบต้นตั้งเป็นหอขึ้นมาจากก้นเหวรองรับรางรถไฟ ตอนข้ามก็ต้องวิ่งอย่างบรรจงช้าๆ เป็นที่หวาดเสียวของผู้โดยสารอย่างยิ่ง และใช้มาจนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเปลี่ยนเป็นหอคอนกรีตเสริมเหล็ก อุโมงค์ขุนตาลแล้วเสร็จสมบูรณ์ เปิดให้ขบวนรถไฟผ่านเป็นครั้งแรกในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นความตื่นเต้นและปรารถนาของคนไทยอย่างยิ่งที่อยากจะนั่งรถไฟลอดอุโมงค์ขุนตาลสักครั้งในชีวิต แม้ในเวลากลางวันภายในอุโมงค์ขุนตาลก็จะมืด รถไฟต้องเปิดไฟทั้งขบวนจนผ่านพ้นอุโมงค์ การเจาะภูเขาที่เป็นหินแกร่งให้เป็นอุโมงค์กว้างจนรถไฟเข้าไปได้ และเป็นระยะทางไกลถึงกิโลเมตรเศษเช่นนี้ ในยุคนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง จนเกือบเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้วด้วยความอุสาหะพยายามของมนุษย์ อย่างที่มีคำกล่าวไว้ว่า “แม้แต่แม่น้ำยังหลีกทาง ภูเขาต้องโค้งคำนับ” ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลอย่างในปัจจุบัน ถ้ามนุษย์จะนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ ไม่เอามาใช้ทำลายล้าง ข่มเหง เบียดเบียนกัน โลกใบนี้ก็จะสวยงามน่าอยู่ขึ้นอีกมาก

The longest railway tunnel in Thailand is the "Khun Tan Tunnel" between Lampang and Lamphun. Drilling under the ivory of the Khun Tan mountain range to reach 1,362.05 meters long than the other. It is a miracle that occurred in the reign of King Rama V, creating excitement for the whole country. Which requires a lot of science and a great deal of humor. Because appliances are not like in this era. Need to force the hammer one by one. The trip to work is difficult. Must carry equipment to carry. The repeated German engineer who controlled all the work was also arrested as a "Sattru" has to spend up to 3 reigns to open the bus.

After the reign of King Chulalongkorn, the reign of King Rama V began the construction of the railway on March 4, 1891. By the end of 1905, the northern railway was only accessible to Nakhon Sawan. And to explore the route to reach Chiang Mai, there are big obstacles. The Khun Tan mountain range is so difficult to dodge.

After 2 years of exploration, I finally decided to dig a tunnel like Europe has done. But the tunnel under the mountains stretches for miles like this. Also in the wilderness to climb mountains. This is a common view that Thai people do not see the way. But it has faith in German engineers. At that time, Thai people are very German. It is considered that German goods are of better quality than all the nations of the world. They also fell together peacefully. Because Germans do not have a policy of seeking colonies in this area. Wrong with England and France, unreliable Hiding hidden map to take over Thailand.

The Khun Tan tunnel excavation began in the year 2450, which was still in the reign of King Rama V, with the German engineer Emile Eisenhofer taking control of the first and digging the two sides to converge. This requires a very precise calculation.

The starting point for digging both sides of the tunnel is in the backcountry areas where travel requires a walk or horse ride. Construction equipment and luggage. Elephants and cart wagons must be used. Some of the steep mountain climbs with a winch. By the head of the work in Lampang.

How to dig Start with a small hole punch using a hammer drill or drill. Then take dynamite cordite buried. Implant or crack Then connect a long fuse for the safety of the person detonate the bomb.

Some of the points are used to fire hot stone. This will be easily extracted. Or some of the water drops to the rocks, it will be broken at the risk.

The more digging deeper into the work, the more difficult, respectively. Particularly have to remove the debris left outside the tunnel. The rock excavated from the tunnel of Khun Tan has a volume of 60,000 cubic meters. It is a very serious job.

Workers who apply for burial of this Khun Tan Tunnel. Most are those who find their way to work otherwise difficult. The gurl meet the luck. The drunk and the junkie The juniors of that era were opium smokers who had no law against it. It appears that those who work best are the juniors. More diligent than other groups. In spite of all the physically exhausted body. Work hard, hope to get money to smoke. There are also no fears of toxic smoke in tunnels caused by rock dust. Because believe in the power of opium that will eliminate it. When digging deep, breathing air is less and less. Need air pump to help But the puffed-up opium smokers used less breathing air than the others.

Because the Khun Tan Tunnel is in a wilderness area that is rich with jungle fever. These ministers will not die from ailments. There are still a lot of deaths due to carelessness. Such as the fuse to the crack. Instead of squeezing Many working classmates use bite instead of pliers. If you do not die, it's all mouth.

After digging the Khun Tan Tunnel for 5 years, there is a tragedy occurred to the Thai people. When King Chulalongkorn. The originator of the Thai railway. He died on October 23, 1910, but excavation of the Khun Tan Tunnel is still going on.

After spending eight years tunneling, the tunnels on both sides penetrate exactly as they were calculated. Then it takes time to make walls and concrete ceilings throughout the tunnel for up to 3 years to prevent water leakage from the mountain.

During the digging of the Khun Tan Tunnel was not completed. Thailand joined the Allies in World War I declared war on Germany. In deciding to join this war. King Rama VI He considered digging the Khun Tan Tunnel and building the Northern Railway. Under the control of German engineers. And it was good to have been given the title by Mr. F. Chainee as the director. Mr. Miwon Willem, Non "when declared war with Germany. These people must be taken captive immediately because they are a warring nation. Despite the good friendship of the Thai people at all. And when we see that Thailand sided. It can be avenged for revenge. Until an unexpected incident occurred with the tunnel Khun Tan.

So on June 27, 2460, before declaring war, only 25 days, he was graciously graciously sent to God her brother. Department of Khun Kamphaengphet Akkarothin He studied engineering and military engineering from England. Currently in charge of the army. Commander in command Control all railroad construction

In addition, he has a letter. Phraya Sarit Banjong (Saman Panyarachun), a technician in Nakhon Ratchasima province. The opening of the envelope was scheduled on July 22, a silent date that would be the date of publication.

อุโมงค์ขุนตานในอดีต หลังสร้างเสร็จใหม่ๆ

อุโมงค์ขุนตาลปัจจุบัน เมื่อปี 2558

สถานีรถไฟขุนตาน

ไม้หมอนรุ่นเก่าที่ยังคงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังเดินผ่านรางรถไฟ

ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่เลิกใช้งานแล้ว ใกล้ๆทางขึ้นอุโมงค์ขุนตาน

เถ้ากระดูกของแหม่ม เมียวิศวกรรถไฟ ถูกบรรจุไว้เป็นที่ระลึกของการสร้างอุโมงค์รถไฟนี้

ชมภาพรถไฟแล่นผ่านอุโมงค์ประวัติศาสตร์ อุโมงค์ขุนตาน

RECENT POSTS:
SEARCH BY TAGS:

Categories

bottom of page