วัดทองทั่ว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดทองทั่ว เป็นวัดในจังหวัดจันทบุรี เป็นโบราณสถานขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร ทะเบียนเลขที่ 0007072
ประวัติ
เมื่อ พ.ศ. 2310ได้มีการตั้งวัดทองทั่ว และเมื่อ พ.ศ. 2318 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เพื่อรับรองว่าวัดทองทั่ว เป็นวัดสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 โดยกรมศาสนา
ปัจจุบันวัดทองทั่วอยู่ใกล้โบราณสถานเมืองเพนียด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอารยธรรมขอมโบราณ โดยมีหลักฐาน จากโบราณวัตถุที่ค้นพบ และมี "วัดเพนียด" ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อยู่ห่างจากวัดทองทั่วทางทิศใต้ไปประมาณ 400 เมตร ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งใหม่ คือวัดทองทั่วในปัจจุบัน วัดทองทั่วตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีและห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกไปประมาณ 4-5 กิโลเมตร
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาหลังเสียกรุงครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มารวบรวมกำลังไพร่พลเพื่อกู้อิสรภาพที่เมืองจันทบุรี เมื่อทรงกู้อิสรภาพได้สำเร็จ ก็คงจะมีความผูกพันกับวัดทองทั่ว พระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัดทองทั่ว และอาจจะสถาปนาวัดทองทั่วขึ้นเป็นพระอารามหลวง เพราะวัดทองทั่วมีใบสีมารอบพระอุโบสถหลังเก่าของวัดทั้ง 8 ทิศเป็นใบสีมาคู่ ซึ่งมีแต่พระอารามหลวงเท่านั้นจึงจะตั้งใบสีมาคู่ได้ และหลักฐานอีกชิ้นที่ได้ระบุความเป็นมาของวัดทองทั่ว คือเอกสารที่เก็บไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นเอกสารในรัชกาลที่ 5 ศ.12/25 รายงานถึงมณฑลจันทบุรี ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2443) โดยพระสุคุณคณาภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ซึ่งต่อมาได้เป็นพระวชิรญาณวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้าที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) โปรดเกล้าให้มาจัดการศึกษาในเมืองจันทบุรี เมื่อร.ศ. 116 (พ.ศ. 2441) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการการศึกษามณฑลจันทบุรี
พระอุโบสถ (หลังเก่า) โครงสร้างศิลปะเดิมอยู่ในสมัยอยุธยา แต่ในปัจจุบันได้มีการต่อเติมเปลี่ยนแปลง และตามประวัติของวัดเจ้าอาวาสทุกรูปที่เคยปกครองวัด ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถ (หลังเก่า) ทำให้ศิลปะเดิมเลือนหายไปและศิลปะใหม่ก็ถูกสร้างแทนที่ไปตามสมัยนิยมนั้นๆ
พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร (หลวงพ่อทอง) เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ คู่มากับพระอุโบสถ (หลังเก่า) ตามหลักฐานการสร้างวัด และในปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ (หลังเก่า)
Wat Thong Tua (the Golden Temple) From wikipedia Free encyclopedia The Golden Temple is a temple in Chanthaburi province, a registered monument of the Fine Arts Department. Registration number 0007072 history By 2310 has set a gold all over. And BE 2318 has been granted to consecrate to ensure that the gold temple. It is a complete measure according to the rulership of the Sangha rulers 121 by the Department of Religion.
At present, the Golden Temple is near the monumental city. It is associated with ancient Khmer civilization, with evidence of ancient artifacts, and the "temple of monks", an ancient temple, about 400 meters from the Temple of the South. Is a gold temple in the present. Wat Thong is located in the municipal area of Narai. Tambon Klong Narai, Amphoe Mueang, Chanthaburi province and about 4-5 kilometers from the province to the east. In the Ayutthaya period after the Second City King Taksin the Great Have gathered forces to recover independence in Chanthaburi. When Liberation was achieved. It would be associated with the temple of gold around. He gave Wat Somsakdi to Wat Thong throughout. And maybe set up a golden temple all over it as a royal monastery. Because the golden temple around the temple around the old temple of the eight directions is a double mound. Only the royal monastery will be able to set up a couple. And another piece of evidence that has identified the history of gold measurements throughout. The document is kept in the National Archives as documented in King Rama 5, 12/25, reports to Chanthaburi Province, 118 AD (2443) by Phra Suk Khunporn (MR. Later in the year, it was later known as Vajirat Wongsawong. Is in position His Majesty King Chulalongkorn (Rama V), Chulalongkorn University, was educated in Chanthaburi in the year 116th (BE 2441). The Ubosot (old), the original art structure in the Ayutthaya period. But nowadays there is a change. And according to the history of the abbot, all the monasteries had ever ruled. The temple was restored (old), the original art was dissolved and the new art was replaced in the fashion.
The Buddha in the temple of Buddha Suwanmongkol Shakyamuni Sri Sanskrit (Luang Por Thong) is a Buddha image. The couple came to the temple (the old) according to evidence of the temple. And now is enshrined in the temple (the old)
แผนที่ วัดทองทั่ว https://goo.gl/maps/5YidekEX6SD2
มุมมอง ณ ลานจอดรถ จะมองเห็น เจดีย์ที่อยู่ข้างพระอุโบสถ ก่อนอันดับแรก
กำแพงรอบเจดีย์ประดับหินสีคล้ายหยก ตามภาพด้านล่าง
ลวดลายกำแพงที่ล้อมรอบเจดีย์ข้างอุโบสถเก่า
ด้านหลังเป็นโรงเรียนวัดทองทั่ว
ด้านหน้าพระอุโบสถใหม่ วัดทองทั่ว
รูปปั้นคล้ายสิงห์ มีรูปแบบเหมือนศิลปะขอม (คล้ายกับที่ปราสาทพนมรุ้ง) แกะสลักจากหินทราย แต่สภาพทรุดโทรมมาก
คล้ายทับหลังนารายณ์ ลวดลายหายหมดแล้ว
ใบเสมาคู่ อยู่รอบอุโบสถเก่า จึงเป็นที่สันนิษฐานว่า การมีใบเสมาคู่นั้น อาจได้รับการสถาปนาเป็นวัดอารามหลวง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อุโบสถเก่ารูปแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ประดิษฐาน หลวงพ่อทอง หรือ พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร
ลักษณะเหมือน ทับหลังนารายณ์ แต่ไม่มีลวดลาย เนื่องจากถูกทิ้งไว้ตากฝนฟ้าแดดลม
หลวงพ่อทอง พระประธานในโบสถ์ งดงาม เก่าแก่ ดั้งเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2310
มองลอดภายในพระอุโบสถเก่า พบ เจดีย์ด้านหลังอุโบสถเก่า
ฝ้าเพดานพระอุโบสถเก่า เป็นแผ่นไม้ทั้งหมด
พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร หรือ หลวงพ่อทอง
ด้านหลังของพระอุโบสถใหม่ วัดทองทั่ว
ศาลาการเปรียญเห็นอยู่ระหว่างปรับปรุงบางสิ่ง
เจดีย์ข้างโบสถ์
คาดว่าเจดีย์สององค์นี้ สร้างพร้อมๆกับอุโบสถเก่า คือ ตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา
เจ้าถิ่น ใจดี